วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและวิศวกรรมโลจิสติกส์ มจพ.
ภาควิชา^_^
ผู้เข้าชมรวม
2,007
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ประวัติภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ "History for Department of Material Handling Technology" | |
ปีพุทธศักราช 2514 เป็นปีที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ซึ่งในขณะนั้นท่าน ศจ.บุญญศักดิ์ จงใจกิจ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการบดีอยู่ท่านเห็นว่า สถาบันของเรามีทั้ง วศบ.และคอบ. แต่ยังไม่มี อส.บ.ท่านจึงเสนอต่อ สภาสถาบันว่าควรจัดตั้ง อส.บ.และในปีต่อมาคือในปีพุทธศักราช 2515 ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่าย วัสดุ ได้ก่อตั้งขึ้นซึ่งเป็น ภาควิชาแรกในประเทศไทยที่ได้รับประศาสน์ปริญญาอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิตหรืออส.บ. เหตุที่ท่าน ศจ.บุญญศักดิ ์ใจจงกิจ เลือกสาขาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุก็เพราะว่าในขณะนั้นท่านได้ทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักรกลลำเลียงอยู่นั้นเอง ในระยะแรกของ การก่อตั้งได้มีท่านอาจารย์อยู่ 3 ท่าน ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของภาควิชา คือ อ.ปรีชา ปิ่นทอง,อ.ชวลิต อยู่ภักดี และอ.สุนิตย์ เพชรรัต ในปีแรกคือ พ.ศ.2515ได้มีผู้มาสมัครน้อย มาก และยังไม่มีใครสอบผ่าน ทางภาควิชาจึงรับนักศึกษาs รุ่นแรกในปี พ.ศ.2516 ซึ่งมีจำนวน 18 คน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากวันสอบเข้าจนกระทั้งจะถึงวันเปิดเทอม เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับภาควิชาฯ ใหม่ นี้ยังคงเงียบเฉยอยู่ ผู้ที่สอบได้บางคนเป็นข้าราชการ และได้ทำเรื่องลาเรียนเรียบร้อยแล้ว ตลอดจนนักศึกษาปกติได้พยายาม ติดต่อสอบถาม ในช่วงเวลานี้ ท่านอาจารย์ที่ได้ให้ความกรุณาช่วยเหลือในการติดต่อ และดำเนินการอย่างรีบเร่ง เพื่อให้ภาควิชาฯ สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ ก็คืออาจารย์ปรีชา ปิ่นทอง ซึ่งเพิ่งจะกลับมาจาก เยอรมัน นอกจากอาจารย์ปรีชา ปิ่นทองแล้ว อาจารย์ชวลิต อยู่ภักดี ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ร่วมมือกับ อาจารย์ปรีชา ปิ่นทอง เพื่อเร่งรัดให้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้นจนได้ แต่ ข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับภาควิชาฯ นั้นคือจะหยุดไว้ก่อนจะเปิดสอนในเทอม 2 แต่ด้วยความสามารถของอาจารย์ปรีชา ปิ่นทองและ อาจารย์ชวลิต อยู่ภักดี จึงทำให้ภาควิชาฯ สามารถเปิดสอนได้ | |
ในตอนแรก หลักสูตรที่เปิดเป็นหลักสูตรภาคปกติใช้เวลา 2 ปี แต่ด้วยเหตุผลบางประการหลังจาก MHT-1 เรียนผ่านไป 1 ปี ภาควิชาฯ จึงกลายสภาพเป็นหลักสูตรรอบบ่ายทั้งหมด นักศึกษา MHT-2 ก็เรียนเฉพาะตอนเย็นส่วนนักศึกษา MHT-1 ที่จะ เข้ามาใหม่ก็เริ่มเป็นนักศึกษารอบบ่าย เฉพาะ MHTรุ่นแรก เมื่อเรียนรอบเช้าไป 1 ปี และได้รับการเปลี่ยนสภาพเป็นรอบบ่าย จึงต้องเรียนมากกว่า 1 ปี ซึ่งผลสุดท้าย เรียนกัน 2 เทอมรอบบ่ายกับอีก 1 Summer จึงมีผู้สำเร็จการศึกษา 13 คน ไม่จบ 5 คน ใน 5 คนนี้ถูก Retired 1 คน จึงเหลือ 4 คน ที่มาจบตอนหลัง ต่อมาในปีการศึกษา 2520 จึงเริ่มรับนักศึกษาภาคปกติเพิ่มอีก 1 ห้องเรียน รวมเป็นนักศึกษาปีละ 2 ห้องเรียน (60 คน) ในปีการศึกษา 2523 ได้รับนักศึกษาเพิ่มอีก 1 ห้อง (30 คน) เป็นนักศึกษา รอบบ่ายรวมเป็นรับ นักศึกษาปีละ 3 ห้องเรียน (90 คน) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532-2534 รัฐบาลมีนโยบายเร่งผลิตบัณฑิตทาง วิศวกรรมศาสตร์รวมทั้ง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต้องการให้รับผู้ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการเข้าศึกษาต่ออันเป็น วิธีการพัฒนาผู้ที่มีงานทำให้มีความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีการเปิดรับนักศึกษาเป็นทั้งหมด 7 ห้องเรียนต่อปี ตั้งแต่ ่ปีการศึกษา 2535ทางรัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยได้ยุติการผลิตบัณฑิตโครงการเร่งรัด ผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ และปิโตรเคมี 1 ห้องเรียน จึงเหลือการรับนักศึกษาในปัจจุบันปีละ 6 ห้องเรียน ปัจจุบันภาควิชาฯ มีนักศึกษาเก่า-ใหม่ รวมทั้งสิ้นประมาณ 515 คนและอาจารย์ 13 คน เจ้าหน้าที่ 6 คน | |
ปัจุบัน ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุเป็นภาควิชาฯแรกในประเทศไทย ที่ได้ประศาสน์ปริญญา อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) สาขาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ และมีชื่อปริญญาเป็นภาษา อังกฤษว่า Bachelor of Industrial Technology in Material Handling หรือมีชื่อย่อว่า B.Ind.Tech.(MH) และในปีพ.ศ.2542 ทางภาควิชาได้ทำประศาสน์ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ เพิ่มขึ้นโดยมีชื่อปริญญาทางภาษาอังกฤษว่า Bachelor of Engineering (Materials Handling Engineering) หรือมีชื่อย่อทางภาษาอังกฤษว่า B.Eng. (Materials Handling Engineering) |
ผลงานอื่นๆ ของ Eng&cit_KMUTNB ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Eng&cit_KMUTNB
ความคิดเห็น